ความหมายของแม่สี 12 สี
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ สี ( Introduction to Colour)
สี เป็นสิ่งที่ปรากฏอยู่บนโลก
ทุกๆสิ่งที่เรามองเห็นรอบๆตัวนั้น ล้วนแต่มีสี โลกของเราถูกจรรโลง และแต่งแต้มด้วย
สีสันหลายหลาก ทั้งสีสันตามธรรมชาติ และสีที่มนุษย์รังสรรค์ขึ้น หากโลกนี้ไม่มีสี
หรือมนุษย์ไม่สามารถ รับรู้เกี่ยวกับสีได้ สิ่งนั้นอาจเป็น
ความพกพร่องที่ยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ เพราะสีมีความสำคัญต่อวัฏจักรแห่งโลก
และเกี่ยวข้องกับ วิถีชีวิตมนุษย์ จนแยกกันไม่ออก เพราะมนุษย์ได้ตระหนักแล้วว่า
สีนั้นส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ จินตนาการ การสื่อความหมาย
และความสุขสำราญใจในชีวิตประจำวันมาช้านานแล้ว ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า สี
มีอิทธิพลต่อมนุษย์เราเป็นอย่างสูง และมนุษย์ก็ใช้ประโยชน์ จากสีอย่าง เอนกอนันต์
ในการสร้างสรรค์ สิ่งต่างๆอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
คำว่า สี (Colour) ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง
ลักษณะของแสง ที่ปรากฏแก่ สายตาเรา ให้เห็นเป็น สีขาว ดำ แดง
เขียวฯลฯหรือการสะท้อนรัศมีของแสงมาสู่ตาเรา
สี ที่ปรากฏ ในธรรมชาติ เกิดจากการสะท้อนของแสงสว่าง ตกกระทบ กับวัตถุแล้ว เกิดการหักเหของแสง ( Spectrum ) สีเป็นคลื่นแสงชนิดหนึ่ง ซึ่งปรากฏให้เห็น เมื่อแสงผ่านละอองไอน้ำ ในอากาศ หรือ แท่งแก้วปริซึม ปรากฏเป็นสีต่างๆ รวม 7 สี ได้แก่ สีแดง ม่วง ส้ม เหลือง น้ำเงิน คราม และเขียว เรียกว่า สีรุ้ง ที่ปรากฏบนท้องฟ้า (ภาพที่ 1)
สี ที่ปรากฏ ในธรรมชาติ เกิดจากการสะท้อนของแสงสว่าง ตกกระทบ กับวัตถุแล้ว เกิดการหักเหของแสง ( Spectrum ) สีเป็นคลื่นแสงชนิดหนึ่ง ซึ่งปรากฏให้เห็น เมื่อแสงผ่านละอองไอน้ำ ในอากาศ หรือ แท่งแก้วปริซึม ปรากฏเป็นสีต่างๆ รวม 7 สี ได้แก่ สีแดง ม่วง ส้ม เหลือง น้ำเงิน คราม และเขียว เรียกว่า สีรุ้ง ที่ปรากฏบนท้องฟ้า (ภาพที่ 1)
ตามธรรมชาติในแสงนั้น มีสีต่างๆรวมกัน
อยู่อย่างสมดุลย์เป็น แสงสีขาวใส เมื่อแสงกระทบ กับสีของวัตถุ
ก็จะสะท้อนสีวัตถุนั้น ออกมาเข้าตาเรา วัตถุสีขาวจะสะท้อนได้ทุกสี
ส่วนวัตถุสีดำนั้น จะดูดกลืนแสงไว้ ไม่สะท้อนสีใด ออกมาเลย
2. ประเภทของสี
สี มีอยู่ทั่วไปในสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา
สีที่ปรากฏอยู่ในโลกสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
2.1 สีที่เกิดในธรรมชาติ มีอยู่ 2 ชนิดคือ
ก. สีที่เป็นแสง ( Spectrum ) คือ สีที่เกิดจากการหักเหของแสง เช่น สีรุ้ง สีจากแท่งแก้วปริซึม
ข. สีที่อยู่ในวัตถุ หรือเนื้อสี ( Pigment ) คือ สีที่มีอยู่ในวัตถุธรรมชาติทั่วไป เช่น สีของพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุต่างๆ
2.2 สีที่มนุษย์สร้างขึ้น คือ สีที่ได้จากการสังเคราะห์ เพื่อใช้ประโยชน์ในงานต่างๆ เช่น งานศิลปะ อุตสาหกรรม การพาณิชย์ และในชีวิตประจำวัน โดยสังเคราะห์จากวัสดุธรรมชาติ และจากสารเคมี ที่เรียกว่า สีวิทยาศาสตร์ ซึ่งสีที่ได้จาก การสังเคราะห์สามารถนำมาผสมกัน ให้เกิดเป็น สีต่างๆอีกมากมาย
2.1 สีที่เกิดในธรรมชาติ มีอยู่ 2 ชนิดคือ
ก. สีที่เป็นแสง ( Spectrum ) คือ สีที่เกิดจากการหักเหของแสง เช่น สีรุ้ง สีจากแท่งแก้วปริซึม
ข. สีที่อยู่ในวัตถุ หรือเนื้อสี ( Pigment ) คือ สีที่มีอยู่ในวัตถุธรรมชาติทั่วไป เช่น สีของพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุต่างๆ
2.2 สีที่มนุษย์สร้างขึ้น คือ สีที่ได้จากการสังเคราะห์ เพื่อใช้ประโยชน์ในงานต่างๆ เช่น งานศิลปะ อุตสาหกรรม การพาณิชย์ และในชีวิตประจำวัน โดยสังเคราะห์จากวัสดุธรรมชาติ และจากสารเคมี ที่เรียกว่า สีวิทยาศาสตร์ ซึ่งสีที่ได้จาก การสังเคราะห์สามารถนำมาผสมกัน ให้เกิดเป็น สีต่างๆอีกมากมาย
3. การรับรู้เรื่องสี (Colour Perception)
การรับรู้ต่อสีของมนุษย์ เกิดจากการมองเห็น
โดยใช้ตา เป็นอวัยวะรับสัมผัส ตาจะตอบสนองต่อแสงสีต่างๆ โดยเฉพาะแสงสว่าง
จากดวงอาทิตย์ และจากดวงไฟ ทำให้มองเห็น โดยเริ่มจากแสงสะท้อนจากวัตถุผ่านเข้านัยน์ตา
ความเข้มของแสงสว่าง มีผลต่อ การเห็นสี และความคมชัดของวัตถุ
หากความเข้มของแสงสว่างปรกติ จะทำให้มองเห็นวัตถุชัดเจน
แต่หากความเข้มของแสงสว่างมีน้อย หรือ มืด จะทำให้มองเห็นวัตถุไม่ชัดเจน
หรือพร่ามัว
นักวิทยาศาสตร์ได้เคยทำ การศึกษาเกี่ยวกับ ความไวในการรับรู้ต่อสีต่างๆของมนุษย์ ปรากฏว่า ประสาทสัมผัสของมนุษย์ ไวต่อการรับรู้สีแดง สีเขียว และสีม่วงมากกว่าสีอื่นๆ ส่วนการรับรู้ของเด็กเกี่ยวกับสีนั้น เด็กส่วนใหญ่ จะชอบภาพ ที่มีสีสะอาดสดใส มากกว่า ภาพขาวดำ ชอบภาพหลายๆสีมากกว่าสีเดียว และชอบภาพที่เป็น กลุ่มสีร้อนมากกว่าสีเย็น (โกสุม สายใจ, 2540)
ตาของคนปกติจะสามารถ แยกแยะสีต่างๆได้ถูกต้อง แต่หากมองเห็นสีนั้นๆเป็นสีอื่นที่ผิดเพี้ยนไป เรียกว่า ตาบอดสี เช่น เห็นวัตถุสีแดง เป็นสีอื่นที่มิใช่สีแดง ก็แสดงว่า ตาบอดสีแดง หากเห็นสีน้ำเงินผิดเพี้ยน แสดงว่าตาบอดสีน้ำเงิน เป็นต้น ซึ่งตาบอดสีเป็นความบกพร่องทางการมองเห็นอย่างหนึ่ง บุคคลใดที่ตาบอดสีก็จะเป็นอุปสรรคต่อการทำงานบางประเภทได้ เช่น งานศิลปะ งานออกแบบ การขับรถ ขับเครื่องบิน งานด้านวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
นักวิทยาศาสตร์ได้เคยทำ การศึกษาเกี่ยวกับ ความไวในการรับรู้ต่อสีต่างๆของมนุษย์ ปรากฏว่า ประสาทสัมผัสของมนุษย์ ไวต่อการรับรู้สีแดง สีเขียว และสีม่วงมากกว่าสีอื่นๆ ส่วนการรับรู้ของเด็กเกี่ยวกับสีนั้น เด็กส่วนใหญ่ จะชอบภาพ ที่มีสีสะอาดสดใส มากกว่า ภาพขาวดำ ชอบภาพหลายๆสีมากกว่าสีเดียว และชอบภาพที่เป็น กลุ่มสีร้อนมากกว่าสีเย็น (โกสุม สายใจ, 2540)
ตาของคนปกติจะสามารถ แยกแยะสีต่างๆได้ถูกต้อง แต่หากมองเห็นสีนั้นๆเป็นสีอื่นที่ผิดเพี้ยนไป เรียกว่า ตาบอดสี เช่น เห็นวัตถุสีแดง เป็นสีอื่นที่มิใช่สีแดง ก็แสดงว่า ตาบอดสีแดง หากเห็นสีน้ำเงินผิดเพี้ยน แสดงว่าตาบอดสีน้ำเงิน เป็นต้น ซึ่งตาบอดสีเป็นความบกพร่องทางการมองเห็นอย่างหนึ่ง บุคคลใดที่ตาบอดสีก็จะเป็นอุปสรรคต่อการทำงานบางประเภทได้ เช่น งานศิลปะ งานออกแบบ การขับรถ ขับเครื่องบิน งานด้านวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
สีแดง
ความหมาย: ความเข้มแข็ง มีพละกำลัง,
ความโกรธ, กิเลส, ความหมกมุ่นทางเพศ,
แจ่มใส, กล้าหาญ, ไฟ,
ร้อนแรง, การเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว, ความปรารถนา, เลือด, มีชีวิตชีวา,
แรงขับเคลื่อน, ความเสี่ยง, ความรัก, การอยู่รอด, สงคราม,
อันตราย, การปฏิวัติ, แข็งกร้าว,
พลังอำนาจ, เด็ดเดี่ยว, รสชาติดี,
เป็นผู้นำ, ตื่นเต้น, ความเร็ว,
ความร้อน, ความอบอุ่น, รุนแรง,
การดึงดูดความสนใจ, โรแมนติก
สีแดงสด ความสนุกสนาน,
เรื่องทางเพศ, กิเลส, ความเฉียบแหลม,
ความรัก, ความลังเล
สีแดงเข้ม ความมุ่งมั่น, ความคลั่งไคล้, ความโกรธ,
ความตึงเครียด, ความเป็นผู้นำ, ความโหยหา, การปองร้าย
สี Maroon (แดงเลือดนก) ความลังเล
จิตวิทยา: สีแดงจะช่วยกระตุ้นการเผาผลาญในร่างกาย, เพิ่มอัตราการหายใจ,
เพิ่มการขับเหงื่อ, ช่วยเจริญอาหารและเพิ่มความดันโลหิตได้ค่ะ
รู้หรือไม่: สีแดงนั้นช่วยให้ข้อความหรือรูปภาพดูเด่นขึ้นได้
วัตถุที่มีสีแดงจะดูใหญ่ขึ้นและดูใกล้ขึ้นกว่าความเป็นจริง ส่วนสีแดงสด
อาจเคืองสายตาได้ถ้าใช้บนพื้นที่หรือวัตถุที่ใหญ่เกินไป
แต่ถ้าต้องการให้ดึงดูดผู้คน สีแดงนี่เลยค่ะดีที่สุด
เพราะจะทำให้มีการตอบสนองอย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่างเช่น ป้าย SALE ต่างๆ ไฟแดงตามสี่แยก หรือป้ายจราจรค่ะ
เมื่อใช้ร่วมกับสีอื่น: ไม่แนะนำให้ใช้สีแดงสดร่วมกับสีฟ้าสดค่ะ
เพราะมันไม่ดีกับสายตา
ส่วนสีแดงถ้าใช้ร่วมกับสีเขียวก็ควรมีสีอื่นมาแทรกบ้างอย่ามีแค่สองสีนี้
ความเชื่อของชนชาติต่างๆ
- ยุโรป: อันตราย (ใช้กับป้ายจราจร
เช่น ป้ายหยุดรถ), ความรัก
(รูปหัวใจ), ความตื่นเต้น (ป้าย SALE)
- จีน: สีของชุดเจ้าสาว, ความโชคดี, การเฉลิมฉลอง,
ความสุข, สนุกสนาน, มีอายุยืนยาว, เรียกประชุมหรือกำลังพล
- ญี่ปุ่น: ชีวิต
- อินเดีย: ความบริสุทธิ์
- ชาวตะวันออก: ความสนุกสนาน
(เมื่อใช้กับสีขาว)
- ชาวฮิบบรู: การเสียสละ, บาป
- อเมริกัน: คริสต์มาส
(ใช้กับสีเขียว), วาเลนไทน์
(ใช้กับสีขาว)
- แอฟริกาใต้: เศร้า
- ชาวอะบอริจิ้นในออสเตรเลีย:
แผ่นดิน,
- ชาวโรมัน:
ใช้ธงสีแดงเป็นสัญลักษณ์ในการเริ่มโจมตีข้าศึก
- ฮวงจุ้ย: หยาง, ไฟ, โชคดี, เงินทอง, เคารพ, การป้องกัน,
ยอมรับนับถือ
สีชมพู
ความหมาย: อบอุ่น, มีพลัง, ความสมดุล, กระตือรือร้น, มีชีวิตชีวา,
พละกำลัง, ขยับขยาย, หรูหรา,
ตื่นเต้น, เป้าหมายธุรกิจ, การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์, ทะเยอทะยาน, ความสำเร็จ, เกี่ยวกับกฎหมาย, การขาย,
การแสดง, ดวงอาทิตย์, เป็นมิตร,
สนุกสนาน, เข้มแข็ง, อดทน,
รอบรู้, การกุศล, น่าหลงใหล,
ความสุข, เป็นมิตร, การเริ่มต้น,
ความคิดสร้างสรรค์, กำลังใจ, อบอุ่น, น่าสนใจ, อิสระ,
งบประมาณน้อย, หนุ่มสาว
สีชมพูอ่อน วัยแรกรุ่น, บอบบาง
สีชมพูสด วัยรุ่น, กำลัง, มีเจตนาดี
ความเชื่อของชนชาติต่างๆ
- ยุโรป: ผู้หญิง, เด็กผู้หญิง
- อินเดียแถบตะวันออก: เป็นสีแสดงความเป็นผู้หญิง
- ญี่ปุ่น:
เป็นสีที่ใช้กันมากทั้งหญิงและชาย
- เกาหลี: ความไว้ใจ
- ฮวงจุ้ย: หยิน, ความรัก
สีส้ม
ความหมาย: โรแมนติก, ความรัก, มิตรภาพ, ผู้หญิง,
ความจริง, นิ่งเฉย, หวังดี,
เยียวยาความรู้สึก, ความสงบ, ความห่วงใย, เอาใจใส่, รสหวาน,
กลิ่นหอม, บอบบาง, ละเอียดอ่อน
สีส้มอ่อน เช่น ลูกแอปปริคอท, ปะการัง, ลูกพีชและแคนตาลูป
หมายถึง ผู้เชี่ยวชาญ
สีส้มเข้ม หมายถึง หลอกลวง, ไม่ไว้วางใจ
สีส้มแดง หมายถึง
ความปรารถนา, เรื่องทางเพศ, ความแข็งกร้าว,
การครอบครอง
สีส้มสด เช่น ส้ม หมายถึง เกี่ยวกับสุขภาพ
จิตวิทยา: ในร้านอาหาร สีส้มถือว่าเป็นสีที่ช่วยกระตุ้นการเจริญอาหาร
ส่วนการตกแต่งด้วยสีส้มก็ช่วยเรื่องการค้าขาย
นอกจากนี้สีส้มยังช่วยเพิ่มออกซิเจนที่ส่งไปเลี้ยงสมอง
และช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง
รู้หรือไม่: เมื่อใช้ส้มเป็นพื้นหลังช่วยให้รูปดูใกล้และใหญ่กว่าความเป็นจริง
แต่ต้องระวังอย่าใช้เยอะเกินไปนะคะ
ความเชื่อของชนชาติต่างๆ
- ยุโรป: ฤดูใบไม้ร่วง, การเก็บเกี่ยว, ความคิดสร้างสรรค์
- อเมริกัน: ฮัลโลวีน, ของราคาถูก
- ฮวงจุ้ย: หยาง, ดิน, เข้มแข็ง
สีน้ำตาล
ความหมาย: มิตรภาพ, เทศกาลพิเศษ, พื้นดิน, วัตถุนิยม,
ความจริง, สะดวกสบาย, ทนทาน,
มั่นคง, เรียบง่าย, อายุยืน,
สนิทสนม, เงียบสงบ, ราคะ,
เข้มแข็ง, การผลิต, นิ่งเฉย,
ทำงานหนัก, น้ำใจ, สิ่งสกปรก,
การปฏิบัติการ
ถ้าใช้สีน้ำตาลสีเดียวนั้น
มันก็จะดูไม่ค่อยโดดเด่นเท่าไหร่ ออกจะดูทึมๆ ทื่อๆ ด้วยซ้ำ
นานัวร์แนะนำว่าให้ใช้คู่กับสีอื่นหรือแต่งโดยใช้เทคนิด texture เข้าช่วยค่ะ เช่นพื้นไม้
เป็นต้น
สีน้ำตาลแดง ฤดูเก็บเกี่ยว, ฤดูใบไม้ร่วง
สีเนื้อ หยาง, เชี่ยวชาญ, ความเรียบร้อย
สีน้ำตาลทองแดง เป้าหมายทางการเงิน, หลงใหล,
ผลทางธุรกิจ, ความก้าวหน้าในอาชีพ
สีน้ำตาลกาแฟ เชี่ยวชาญ, เข้มข้น, ทนทาน
ความเชื่อของชนชาติต่างๆ
- ชาวอะบอริจิ้นในออสเตรเลีย:
สีของผืนดิน
- ฮวงจุ้ย: หยาง, ดิน, อุตสาหกรรม
สีทอง
ความหมาย: ร่ำรวย, พระเจ้า, ชัยชนะ, ปลอดภัย,
อำนาจของผู้ชาย, ความสุข, ขี้เล่น, เคารพ, เฉียบแหลม,
น่าเกรงขาม, ปรารถนาอำนาจ, อำนาจลึกลับ, วิทยาศาสตร์, ความมุ่งมั่น
เมืองนอกเค้าสำรวจมาว่า
ใช้สีทองกับสีน้ำเงิน navy blue ในเรื่องการขายของให้กับผู้ชายจะดีที่สุดค่ะ
ความเชื่อของชนชาติต่างๆ
- ทั่วโลก: ความสำเร็จ, คุณภาพดี, เงิน
- ฮวงจุ้ย: หยาง, เหล็ก-โลหะ
สีเหลือง
ความหมาย: พระอาทิตย์, ฉลาด, เบา, ความทรงจำ, จินตนาการ,
ความร่วมมือ, องค์กร หมู่คณะ, แสงอาทิตย์, ความสุข, พลังงาน,
มองโลกในแง่ดี, บริสุทธิ์, กระตือรือร้น, อบอุ่น, มีเกียรติ,
ภักดี, ความชัดเจน, แนวคิด,
ความเข้าใจ, เฉียบแหลม, ทรยศ,
ไม่ซื่อ, ขึ้หึง, อ่อนแอ,
ระมัดระวัง, ผู้ตาม, มั่นใจ,
อารมณ์ขัน, เพ้อฝัน, ความคิดสร้างสรรค์,
เป็นต้นแบบ, ความหวัง, ฤดูร้อน,
ไม่แน่นอน, มีชื่อเสียง
สีเหลืองหม่น ระมัดระวัง, ผุพัง, ป่วย
สีเหลืองอ่อน สดชื่น, สนุกสนาน, รอบรู้
สีครีม ความเงียบ,
ร่าเริง, สงบ, บริสุทธิ์,
นุ่มนวล, อบอุ่นมากกว่าสีขาว
จิตวิทยา: สีเหลืองจะช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง ช่วยให้กล้ามเนื้อมีกำลังและช่วยดึงดูดความสนใจ
รู้หรือไม่: สีเหลืองเป็นสีที่เห็นได้เด่นที่สุดกับตาของมนุษย์ค่ะ
ถ้าคุณต้องการให้ข้อความหรือสิ่งไหนสะดุดตาคนดู ก็สีเหลืองนี่เลยค่ะ
เวลานักเรียนเรียนในห้องที่ทาสีเหลืองทำให้ทำข้อสอบได้ดีขึ้น
(นี่เค้าว่ามาอีกทีนะคะ) สีเหลืองสดใสใช้ดีกับการโปรโมทอาหาร เช่น
ลองเอากล้วยหรือผลไม้สีเหลืองอื่นๆ ไปวางผสมกันกับผลไม้หรือผักสีเขียวอื่นๆ
ก็ดูดึงดูดสายตาดีค่ะ
ส่วนของเล่นเด็กถ้าใช้สีเหลืองเป็นไฮไลท์หรือฉลากก็ดูเด่นขึ้นค่ะ
แต่ถ้าใช้สีเหลืองมากเกินไปก็เป็นการรบกวนสายตาได้ ส่วนสีเหลืองใช้คู่กับสีดำ
หมายถึงการเตือน เช่นป้าย Baby on Board ที่ป้ายมือใหม่หัดขับที่ไว้ติดหลังรถค่ะ
ความเชื่อของชนชาติต่างๆ
- ยุโรป: ความหวัง, ความสุข, สิ่งอันตราย,
อ่อนแอ, แท็กซี่
- เอเชีย: สักการะบูชา, ยิ่งใหญ่, จักรพรรดิ์
- จีน: การเลี้ยงดู, ราชวงศ์
- อียิปต์: เศร้าโศก
- ญี่ปุ่น: กล้าหาญ
- อินเดีย: พ่อค้า
- ศาสนาพุทธ: ปัญญา
- ฮวงจุ้ย: หยาง, ผืนดิน, เป็นมงคล,
อบอุ่น, แสงอาทิตย์
สีเขียว
ความหมาย: แผ่นดินแม่, การแพทย์, อุดมสมบูรณ์, การเกษตร,
การเติบโต, อาหาร, ความหวัง,
ต่ออายุ, หนุ่มสาว, มั่นคง,
ทนทาน, สดชื่น, ธรรมชาติ,
สิ่งแวดล้อม, เงียบสงบ, อมตะ,
สุขภาพ, การรักษา, โชคดี,
หึงหวง, สามัคคี, ใจกว้าง,
ปลอดภัย, อิจฉา, โชคร้าย,
การทูต, สนุกสนาน, สมดุล,
ไม่มีประสบการณ์, แบ่งปัน, มิตรภาพ
จิตวิทยา: สีเขียวสามารถลดความดันเลือดได้ ช่วยลดอาการตื่นเต้น
และช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ สีเขียวนี้ทำให้สบายตาและช่วยให้ทัศนวิสัยดีขึ้น
รูปที่มีพื้นหลังเป็นสีเขียวจะทำให้รูปนั้นดูไกลขึ้นค่ะ
รู้หรือไม่: รูปที่มีพื้นหลังเป็นสีเขียวจะทำให้รูปนั้นดูไกลขึ้น
เป็นสีที่นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์ออร์กานิก
ผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติและผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพ เช่น สปา
สีเขียวเข้ม การเงิน, ทะเยอะทะยาน, โลภ,
หึงหวง, ช่วยให้เกิดความมุ่งมั่น
สีเขียวเหลืองมะนาว เจ็บไข้ได้ป่วย, หึงหวง,
คลื่นไส้, ขี้ขลาด
ไม่แนะนำให้ใช้สีนี้ในผลิตภัณฑ์อาหารค่ะ
สีเขียวมะกอก สงบสุข
สีเขียวอมน้ำเงิน เป็นสีที่นิยมใช้กันทั่วไปค่ะ
ความเชื่อของชนชาติต่างๆ
- จีน: การขับไล่, สมัยก่อนผู้หญิงชาวจีนที่ใส่หมวกสีเขียวหมายถึง
มีชู้
- ญี่ปุ่น: การมีชีวิต
- อิสลาม: ความหวัง -
สันนิษฐานว่าเสื้อคลุมของศาสดานั้นเป็นสีเขียว,
คุณธรรม - สำหรับผู้ที่ศรัทธาอย่างแรงกล้าถึงใส่สีเขียวได้
- ไอร์แลนด์: สีประจำชาติ
- ยุโรป/อเมริกา: ฤดูใบไม้ผลิ, การเกิดใหม่, ความปลอดภัย,
ปกป้องสิ่งแวดล้อม, คริสต์มาส
(คู่กับสีแดง)
- ฮวงจุ้ย: หยิน, ธาติไม้ สมดุล, ผสมผสานกลมกลืน, สุขภาพ, ความสงบ
สีน้ำเงิน/สีฟ้า
ความหมาย: โชคดี, การติดต่อสื่อสาร,
ฉลาดเฉียบแหลม, การป้องกัน, แรงบันดาลใจ, สงบ, นุ่มนวล,
น้ำ, ทะเล, ความคิดสร้างสรรค์,
ลึกลับ, ท้องฟ้า, ท่องเที่ยว,
อุทิศตัว, ความก้าวหน้า, อิสระ, ความรัก, ความเชื่อใจ,
เห็นอกเห็นใจ, ความเศร้า, ความกลุ้มใจ, ความมั่นคง, เป็นปึกแผ่น,
ความเข้าใจ, ความมั่นใจ, การยอมรับ, การอนุรักษ์, ความปลอดภัย,
คำสั่ง, สะดวกสบาย, หนาวเย็น,
เทคโนโลยี, ปัญญา, ความคิด,
การแบ่งปัน, ความร่วมมือกัน, ความจริงใจ, ผ่อนคลาย, มิตรภาพ,
อดทน
จิตวิทยา: บางคนเชื่อว่าสีน้ำเงินหรือสีฟ้านี้ทำให้การเผาผลาญในร่างกายหรือเมตาโบลิซึ่มช้าลง
และหยุดยั้งการเจริญอาหาร
รู้หรือไม่: สีน้ำเงินหรือสีฟ้าเป็นสีที่นิยมใช้กันทั่วไป
เหมาะสำหรับเว็บไซต์เกี่ยวกับเทคโนโลยี, ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์,
อุปกรณ์ทำความสะอาด, น้ำ, ทะเล, ท่องเที่ยว
นอกจากนี้สีฟ้าหรือสีน้ำเงินก็เป็นสีที่คนชอบมากที่สุดมากกว่าครึ่งโลก
นานัวร์ก็ชอบสีฟ้าเหมือนกันค่ะ
ถ้าใช้สีฟ้าคู่กับสีน้ำเิงินเข้มจะให้ความรู้สึกน่าเชื่อถือ แต่ถ้าใช้สีฟ้าอ่อนๆ
ก็จะให้ความรู้สึกสงบและนุ่มนวลค่ะ
สีน้ำเงิน ความร่ำรวย หนาวเย็น
สีน้ำเงินเข้ม ความลึก, เชี่ยวชาญ,
มั่นคง, น่าเชื่อถือ, รอบรู้,
เฉลียวฉลาด, เป็นสีของธุรกิจส่วนใหญ่, อบอุ่น, อำนาจ, ความจริงจัง,
สุขภาพ, ความรู้, กฏหมาย,
ตรรกะ, ปลอดโปร่ง
ความเชื่อของชนชาติต่างๆ
- ยุโรป: สงบ
- อิหร่าน: โศกเศร้า
- จีน: เป็นอมตะ
- ฮินดู: สีของพระกฤษณะ
- ตะวันออกกลาง: ปกป้อง
- ฮวงจุ้ย: หยิน, ธาตุน้ำ, เงียบสงบ,
ความรัก, ผ่อนคลาย, สันติสุข, ความเชื่อถือ, ผจญภัญ,
การค้นหา
สีม่วง
ความหมาย: อิทธิพล, ดวงตาที่สาม, ทรงเจ้า, พลังวิเศษ,
เกียรติยศ, แรงบันดาลใจ, ราชวงศ์, อำนาจลึกลับ, การเปลี่ยนแปลง,
ฉลาด, เชี่ยวชาญ, โหดร้าย,
หยิ่งยโส, เพ้อฝัน, จินตนาการ,
ร่ำรวย, ฟุ่มเฟือย, อิสระ,
ไสยศาสตร์, ความคิดสร้างสรรค์, พลังงาน, ความมั่นใจในตัวเอง, ถือตัว,
ทะเยอทะยาน, หรูหรา, กำไร,
ความต้องการทางเพศ, เพศที่สาม, เกย์, เลสเบี้ยน
จิตวิทยา: เด็กฝรั่งรุ่นซักประมาณประถมปลายถึงมัธยมต้นกว่า 75% เลือกสีนี้เป็นสีที่ชอบที่สุดค่ะ ไม่แน่ใจว่าเด็กไทยจะด้วยรึเปล่า
พวกบริษัทผลิตของเล่นหรือผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเด็กนิยมใช้สีม่วงสดเพื่อดึงดูดความสนใจค่ะ
ส่วนสีม่วงอ่อนหวานๆ ก็เหมาะดีสำหรับงานออกแบบแบบผู้หญิงๆ
แต่ถ้าใช้สีม่วงมากเกินไป
ก็ทำให้รู้สึกอึมครึมหรือคลื่นไส้ถ้าต้องอยู่ในห้องที่มีแต่สีม่วงได้ค่ะ
สีม่วงลาเวนเดอร์ หยาง, สับสนทางเพศ,
โรแมนติก, ผู้หญิง, การเปลี่ยนแปลง,
อาลัยอาวรณ์
สีม่วงเข้ม ความมืด, เศร้า, ผิดหวัง,
ร่ำรวย
สีม่วงอ่อน หยาง
สีม่วงไวโอเล็ต สมาธิ, ความคิดสร้างสรรค์,
ความมุ่งมั่น, ความเงียบ, ความสวยงาม, แรงบันดาลใจ, ศิลปะ,
ดนตรี, กามารมณ์, เสียสละ
สีม่วงอมน้ำเงิน ลึกลับ
ความเชื่อของชนชาติต่างๆ
- ไทย: เศร้า
- ญี่ปุ่น: การมีชีวิต
- ฮวงจุ้ย: หยาง, รู้พลังลึกลับ
สีขาว
ความหมาย: เทวดา, สันติภาพ,
บริสุทธิ์, สาวบริสุทธิ์, เคารพนับถือ, เลื่อมใสศรัทธา, ความเรียบง่าย,
ความสะอาด, ไร้เดียงสา, หนุ่มสาว,
การเกิด, หน้าหนาว, หิมะ,
ความดี, ปลอดเชื้อ, หนาวเย็น,
ชัดเจน, สมบูรณ์แบบ, ยุติธรรม,
ความปลอดภัย, คิดบวก, บุญกุศล,
ความสำเร็จ, สิ่งประดิษฐ์, เป็นเอกภาพ, เสียสละเพื่อส่วนรวม, พระเจ้า, ผู้หญิง
จิตวิทยา: ห้องสีขาวอาจทำให้อึดอัดได้ถ้าปล่อยให้โล่งๆ ไม่มีอะไรเลยค่ะ
สีขาวใช้ได้ดีเมื่อใช้เป็นพื้นหลังเพราะทำให้สิ่งที่เราต้องการจะนำเสนอดูเด่นขึ้นค่ะ
รู้หรือไม่: สีขาวนั้นแสดงถึงความเรียบง่าย ปลอดภัยและ สะอาด
นิยมใช้กับพวกของไฮเทคทั้งหลาย เช่นคอมพิวเตอร์ และพวกอุปกรณ์ทางการแพทย์ค่ะ
ความเชื่อของชนชาติต่างๆ
- ยุโรป: การแต่งงาน, นางฟ้า, โรงพยาบาล,
หมอ, สันติภาพ, นม
- ญี่ปุ่น: เศร้าโศก
นิยมใช้ในงานศพ
- จีน: ความตาย, เศร้าโศก
- อินเดีย: ความทุกข์
- ฮวงจุ้ย: หยาง, ความตาย, เศร้าโศก,
วิญญาณบรรพบุรษ, ผี, ความมั่นใจ
สีเงิน
ความหมาย: เสน่ห์, ไฮเทค, สง่างาม,
โทรจิต, ญาณทิพย์, เพ้อฝัน,
พลังหญิง, การสื่อสาร, เทพธิดา,
ร่ำรวยหรูหรา, สมัยใหม่
จิตวิทยา: ใช้สีเงินร่วมกับสีอื่นจะช่วยให้เป็นที่สะดุดตาค่ะ
รู้หรือไม่: ให้ใช้สีนี้ร่วมกับสีอื่น ถ้าคุณต้องการออกแบบของให้ดูไฮเทคมากขึ้นค่ะ
สีเงินนี้เข้ากันได้ดีกับสีทองและสีขาวสื่อถึงความมีอำนาจค่ะ
- ฮวงจุ้ย: หยิน, โลหะ, น่าเชื่อถือ,
โรแมนติก
สีเทา
ความหมาย: ปลอดภัย, เชื่อถือได้, ฉลาด, มีเกียรติ,
เงียบขรึม, ถ่อมตัว, อนุรักษ์นิยม,
สำหรับคนแก่, เศร้าเสียใจ, น่าเบื่อ, มืออาชีพ, เชี่ยวชาญ,
ทนทาน, มีคุณภาพ, เงียบขรึม,
หม่นหมอง
- ฮวงจุ้ย: หยิน, โลหะ, ความตาย,
ทื่อ
สีดำ
ความหมาย: การปกป้อง, รังเกียจ, อำนาจ,
เกี่ยวกับเพศ, เชี่ยวชาญ, เป็นทางการ, หรูหรา, ร่ำรวย,
ลึกลับ, ความกลัว, ปิศาจ,
ความทุกข์, ความเศร้า, ความโกรธ,
สำนึกผิด, โชคร้าย, ความลับ,
ความสกปรก, ความว่างเปล่า, เข้มแข็ง, เชื่อถือ, จริงจัง
จิตวิทยา: ถ้าใช้สีดำกับพื้นที่กว้างเกินไป ก็อาจทำให้รู้สึกอึมครึม หดหู่ได้ค่ะ
แม้ว่าสีดำจะทำให้ดูมีมิติขึ้นก็ตาม
รู้หรือไม่: สีดำนี้ใช้ได้ดีกับเว็บไซต์ประเภทศิลปะหรือโชว์ภาพถ่ายเพราะจะทำให้รูปภาพดูเด่นขึ้นค่ะ
แต่ถ้าใช้สีดำเป็นพื้นหลังของตัวอักษรแล้ว อาจจะทำให้อ่านยากขึ้น
- ยุโรป: งานศพ, ความตาย
- จีน: เป็นสีของเด็กผู้ชาย
- ไทย: โชคร้าย, ความทุกข์, ผีสาง
- ฮวงจุ้ย: หยิน, น้ำ, เงินทอง,
รายได้, อำนาจ, ความมั่นคง,
อำนาจชั่วร้า
http://nanotech.sc.mahidol.ac.th/comlab/image/wheel.htm
ส่วนประกอบหลักของ
Photoshop
เพื่อให้สามารถเข้าในการทำงานของโปรแกรม
Adobe
Photoshop หรือที่หลาย ๆ คนมักเรียก โฟโต้ช้อป 'Photoshop' เฉย ๆ ได้เรียนรู้ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ดังนั้น
เรามาเรียนรู้ส่วนประกอบหลัก ๆ ของ โฟโต้ช้อป ก่อนดีกว่า ว่ามีอะไรบ้าง
และแต่ละส่วนทำหน้าที่อย่างไร... สำหรับส่วนประกอบที่แนะนำนี้เป็น โปรแกรม
โฟโต้ช้อป เวอร์ชั่น 6.0 ซึ่งแตกต่างจากเวอร์ชั่นในปัจจุบันที่เป็น
Photoshop CS บ้าง (สำหรับผู้ใช้งาน เวอร์ชั่น 4 หรือ 5 หรือแม้กระทั่งเวอร์ชั่นยอดนิยม เวอร์ชั่น 7
ก็สามารถศึกษารายละเอียดได้เช่นกัน จะแตกต่างกันบ้างก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น)
1.
Title bar หรือแถบชื่อเรื่อง
เป็นตำแหน่งที่แสดงชื่อของโปรแกรม
2.
Menu bar หรือแถบเมนู เป็นตำแหน่งแสดงคำสั่งต่าง ๆ
ในการทำงาน
3.
Option bar เป็นตำแหน่งแสดงรายละเอียดของเครื่องมือ (Tools)
ที่คุณเลือกใช้งานอยู่ในปัจจุบัน? ถ้าเป็นเวอร์ชั่นที่เป็น
CS จะมีการแบ่งกลุ่มและเพิ่มเติม Tool ใหม่เข้ามา
4.
Toolbox หรือกล่องเครื่องมือ เป็นตำแหน่งที่เก็บรวมรวมเครื่องมือต่าง ๆ
ของโฟโต้ช้อป
5.
หน้าต่างเอกสาร เป็นหน้าต่างงานของเราที่กำลังสร้างอยู่
สังเกตด้านบนจะเห็นชื่อของไฟล์ และขนาดของภาพที่ถูกย่อหรือขยายอยู่
6.
Pallette เป็นหน้าต่างพิเศษที่ช่วยในการทำงาน
สามารถเพิ่มหรือลดได้ตามความต้องการ (สามารถเลือกได้จากเมนู window เลือกหน้าต่างที่ต้องการแสดงหรือไม่แสดง)
7.
แถบสถานะ เป็นตำแหน่งที่แสดงขนาดของไฟล์
และรายละเอียดการทำงานอื่นๆ
http://www.it-guides.com/training-a-tutorial/photoshop/264-photoshop-overview
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น